ฝุ่น PM 2.5 อันตรายกว่าที่คิด

blank

กลายเป็นอีกหนึ่งมลพิษที่อยู่คู่กับคนไทยอย่างยาวนานสำหรับเรื่องฝุ่น PM 2.5 โดยสาเหตุหลักเกิดจากการกระทำของมนุษย์เราเองทั้งนั้น การแก้ปัญหานี้ให้สำเร็จคงต้องใช้เวลาและร่วมมือกันทุกฝาย ทางแก้เบื้องต้นคือการป้องกันตนเองโดยหลีกเลี่ยงและระมัดระวังเรื่องการใช้ชีวิตให้ฝุ่น PM 2.5 มีผลกระทบเชิงลบต่อเราให้น้อยที่สุด

ฝุ่น PM 2.5 เป็นฝุ่นที่มีขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน มีขนาดเล็กมากเมื่อเราหายใจเอาฝุ่นนั้นเข้าไปสู่ปอดแล้วมันสามารถที่จะซึมผ่านผนังปอดเข้าสู่กระแสเลือดได้ซึ่งจะส่งผลต่อร่างกายดังนี้

แบบเฉียบพลัน(แสดงผลใน 1 – 2 วัน) 

  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ ทำให้ เกิดการ ไอ เจ็บคอ เลือดกำเดาไหล หัวใจทำงานหนักมากขึ้น หายใจสั้นถี่ อาจส่งผลให้เป็นโรคร้าย เช่น โรคหลอดลมอักเสบ โรคปอดแข็งจากภาวะฝุ่นจับปอด (Pneumoconiosis)
  • ผลต่อตาทำให้เคืองตา ตาแดง ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับดวงตาอาจทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น เช่น ผู้ป่วย ต้อลม ต้อเนื้อ ภูมิแพ้ขึ้นตา 
  • ผลต่อผิวหนังทำให้เกิดผื่นคัน เป็นตุ่ม

blank

 

แบบ เรื้อรัง (ค่อย ๆ สะสม แล้วแสดงผลในระยะยาว) 

  • ผลต่อหัวใจ ทำให้ เส้นเลือดหัวใจตีบตัน หัวใจวาย หัวใจเต้นผิดปกติ
  • ผลต่อสมอง ทำให้เส้นเลือดไปเลี้ยงสมองตีบ เกิดภาวะอัมพาตหรือเสียชีวิต
  • ผลต่อระบบทางเดินหายใจ เป็นโรคถุงลมโป่งพอง มะเร็งระบบทางเดินหายใจ เช่น มะเร็งปอด
  • ผลต่อทารกในครรภ์ เสี่ยงต่อการแท้ง คลอดก่อนกำหนด น้ำหนักตัวทารกต่ำกว่าเกณฑ์ ติดเชื้อง่าย ขาดอาหาร และอาจเป็นออทิสติกได้

ผลกระทบในเรื่อง PM 2.5กระทบกับทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง คือ ผู้สูงวัย (อายุมากกว่า 60 ปี) เพราะมีความต้านทานโรคต่ำและส่วนใหญ่จะมีโรคประจำตัวอยู่แล้ว ผู้ป่วยโรคปอดและโรคหัวใจ เด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย 

blank

วิธีการป้องกัน และลด ฝุ่นPM 2.5

  • สวมใส่หน้ากากมาตรฐาน N95 (ป้องกันได้ 95%) หากหาซื้อไม่ได้ สามารถใส่หน้ากากอนามัยทั่วไปซ้อน 2 ชั้น หรือใช้ผ้าเช็ดหน้าชุบน้ำใช้แทนได้ 
  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสฝุ่น และงดออกกำลังกายในพื้นที่เปิดหรืออาคารที่ไม่ได้ปิดมิดชิด
  • ลดกิจกรรมที่จะก่อให้เกิดฝุ่นฟุ้งกระจาย เช่น การปัดกวาดฝุ่น ให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดแทน ลดการเผาขยะ งดการจุดธูปเทียนหรือการทำอาหารในบ้าน เป็นต้น

 

blank